เราได้เดินทางมาถึงคุกที่พวกเยอรมันกำหนดไว้ให้เป็นที่คุมขัง
บริเวณรอบๆคุกแห่งนี้มีลวดหนามกั้นไว้อย่างแน่นหนา
บนเสาคอนกรีตแต่ละต้นขึงลวดหนามและติดหลอดไฟฟ้าสว่างจ้าอยู่ตลอดเวลา
เป็นสัญญาณเตือนให้นักโทษทุกคนตระหนักว่า
ลวดหนามแต่ละเส้นล้วนแล้วแต่มีกระแสไฟฟ้าแรงสูงปล่อยเอาไว้
ครั้นเจ้าหน้าที่หน่วยเอสเอสไขกุญแจลูกมหึมาซึ่งล็อคประตูเอาไว้ออกแล้ว
เราก็ถูกกวาดต้อนเข้าไปข้างใน
เมื่อผู้ถูกเนรเทศกลุ่มสุดท้ายเดินผ่านธรณีประตูเข้าไปหมดแล้ว เจ้าหน้าที่ก็มาปิดประตูล็อคกุญแจทันที
เราทิ้งชีวิตในอดีตไว้ข้างนอกประตูนั่นเอง ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ทุกคนมีสภาพกลายเป็นทาส ต้องทนทุกข์ทรมานกับความหิวโหยและความหนาวเย็นของอากาศ
ตกอยู่ในความควบคุมของพวกผู้คุม โดยไม่มีความหวังใดๆทั้งสิ้น เราหลายคนร้องไห้น้ำตานองหน้า
ขณะเดินตามผู้นำทางของเราไปยังบ้านหลังใหม่ ซึ่งมีชื่อว่า”คุกแดนที่ 26”
ก่อนจะเล่าเรื่องต่อไป
ใคร่ขออนุญาตท่านผู้อ่านได้อธิบายให้เห็นความสำคัญของค่ายกักกันเชลย 2
แห่งของเยอรมัน คือ ค่ายเบอร์เคเนา(Birkenau) หรือที่เรียกว่าเอาส์ชวิตซ์สอง
และค่ายเอาส์ชวิตซ์(Auschwitz)
ทั้งสองค่ายนี้ต่างมีชื่อในด้านความโหดร้ายทารุณพอๆกัน
ซึ่งประวัติศาสตร์จะต้องจารึกความเลวร้ายของมันเอาไว้ชั่วกาลนาน
ค่ายทั้งสองแห่งนี้แยกออกจากกันโดยมีทางรถไฟแล่นผ่าน
เมื่อตอนที่ผู้ทำหน้าที่คัดเลือกสั่งให้ผู้ถูกเนรเทศซึ่งรวมกันอยู่ที่ชานชาลาสถานีรถไฟ
ให้แยกไป ทางซ้าย บ้าง ทางขวา บ้างนั้น
เป็นการแยกผู้ถูกเนรเทศเพื่อส่งมายังค่ายทั้งสองนี้
ค่ายเอาส์ชวิตซ์หนึ่งเป็นค่ายประหารชีวิตนักโทษและเป็นค่ายทาส
แม้ว่าขีวิตนักโทษในค่ายแห่งนี้จะมีความลำบากยากเข็ญเพียงใด
แต่ก็ถือว่ายังดีกว่าค่ายเอาส์ชวิตซ์สองอยู่บ้าง
ทั้งนี้เพราะค่ายเอาส์ชวิตซ์สอง(เบอร์เคเนา)
เป็นค่ายสำหรับใช้ประหารชีวิตนักโทษเป็นส่วนใหญ่
ด้วยเหตุนี้เองจึงแทบไม่มีใครมีโอกาสบันทึกเหตุการณ์อันน่าสะพรึงกลัวและเบื้องหลังความเป็นมาของมันไว้ได้
มันเป็นส่วนหนึ่งที่แสดงถึงความผิดอย่างมหันต์ของบรรดาผู้นำเยอรมัน ซึ่งแทบจะไม่มีใครกล่าวถึง
ทั้งไม่มีใครยอมรับว่ามีอยู่
จนกระทั่งกองกำลังของฝ่ายพันธมิตรได้เข้าไปยึดและเปิดเผยให้ชาวโลกได้รู้ความลับทั้งหมด
ที่ค่ายเอาส์ชวิตซ์หนึ่ง ยังเป็นค่ายที่น่าสะพรึงกลัวมากที่สุด
เพราะในนั้นมีโรงงานผลิตยุทธปัจจัยอยู่หลายโรง อาทิ โรงงาน ดี.เอ.(D.A.W.)โรงงานซีเมนส์(Siemens)
และโรงงานกรุปป์(Krupp)
ล้วนแล้วแต่เป็นโรงงานผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อใช้ในสงคราม
นักโทษที่ถูกเกณฑ์ให้มาทำงานในโรงงานเหล่านี้ต่างมีอภิสิทธิ์และมีเกียรติสูง
เมื่อเทียบกับนักโทษพวกอื่นๆ แม้แต่ผู้ที่ไม่ได้ทำงานฝ่ายผลิต
ก็ยังโชคดีกว่าพวกนักโทษที่ถูส่งตัวไปค่านเบอร์เคเนา ทั้งนี้เพราะเหตุว่า
นักโทษที่ถูกส่งไปยังค่ายเบอร์เคเนาส่วนใหญ่
เป็นเพียงผู้กำลังรอคอยวาระที่จะถูกนำตัวไปเข้าห้องก๊าซพิษและถูกนำไปเผาทั้งเป็นเท่านั้นเอง
ภารกิจการนำนักโทษผู้โชคร้ายเข้าห้องก๊าซพิษและเผาในที่สุดนี้
เป็นหน้าที่ของกลุ่มบุคคลที่มีชื่อในภาษาเยอรมันว่าหน่วย”คอมมานโด”
เจ้าหน้าที่ในค่ายเบอร์เคเนาจะพยายามถุกวิถีทางที่จะปกปิดไม่ให้ผู้ใดทราบว่า
ค่ายแห่งนี้เป็นค่ายสำหรับประหารชีวิตนักโทษโยเฉพาะ
เมื่อนักโทษในค่ายเอาช์วิตซ์หนึ่งหรือค่ายอื่นๆในบริเวณใกล้เคียงถูกตัดสินว่าเป็นผู้ไร้ประโยชน์
หากมีจำนวนมากเกินกว่าเตาเผาศพในค่ายจะเผาได้ทัน
ก็จะถูกส่งตัวไปเข้าเตาเผาศพที่ค่ายเบอร์เคเนาแทน
ดิฉันได้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ทีละน้อยๆเพียงชั่วระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์
ในช่วงวันแรกๆที่เข้ามาอยู่ในค่าย เรายังมีความเชื่อว่าจะไม่ถูกใช้ให้ทำงาน
ทั้งนี้เพราะไม่มีป้ายว่า”การทำงานคือเสรีภาพ(Arbeit macht frei) เหมือนกับที่เราเคยเห็นในค่ายอื่นๆ
แต่นั้นเป็นเพียงกลวิธีของพวกเยอรมันที่จะหลอกให้เยื่อผู้เคราะห์ร้ายตายใจ
ปกติแล้วทหารเยอรมันมักจะเห็นพวกเราเป็นเครื่องเล่น เหมือนกับแมวซึ่งทำท่หยอกล้อหนูก่อนที่จะตะครุบเป็นอาหารในที่สุด
คุกแดนที่ 26 เป็นโรงรถเก่าซึ่งนำกระดานหยาบๆมาตีปิดไว้อย่างแข็งแรง
ตรงประตูคุกมีแผ่นป้ายโลหะบอกว่า สถานที่แห่งนี้เคยเป็นคอกม้าขนาดใหญ่มาก่อน
เห็นได้จากข้อความบนแผ่นป้ายว่า”สัตว์ขี้เรื้อนจะต้องแยกไว้ต่างหากทันที”
ทำไมม้าถึงโชคดีอะไรอย่างนั้นนะ?แต่ไม่เห็นมีใครสนใจที่จะใช้มาตรการเช่นนี้กับกับมนุษย์อย่างเราที่ถูกขังไว้ในที่นี้เลยนะ
ดิฉันก็ได้แต่คิด
ภายในคุกแยกออกเป็น 2 ส่วน โยมีเตาอิฐขนาดมหึมาสูงประมาณ 14 ฟุต
ยาวเกือบ 20 เมตร กั้นกลางเอาไว้ แต่ละด้านแบ่งออกเป็นบล็อก
และแต่ละบล็อกมีเตียงแบบสามชั้นวางเรียงรายอยู่เป็นจำนวนมาก
ท่านผู้อ่านคะ มันไม่ใช่เตียงอย่างที่เราท่านเคยเห็นหรอกค่ะ
แต่มันคือกรงขังที่ทำด้วยไม้ ซึ่งเรียกกันเป็นภาษาเยอรมันว่า”คอยอัส(Koias)
แต่ละกรงหรือแต่ละบล็อกยาว
12 ฟุต กว้าง 5 ฟุต ใช้เป็นที่นอนสำหรับคน 17-20 คน
เราต้องอยู่กันอย่างแออัดยัดเยียด ไม่มีความสะดวกสบายแม้แต่น้อย
ตอนแรกๆที่เรามาถึง กรงขังเหล่านี้ไม่มีอไรอยู่เลย
นอกจากแผ่นกระดานไม้เก่าๆต้องนอนกันบนแผ่นกระดานเหล่านี้ตามมีตามเกิด
อีกเดือนหนึ่งต่อมานายทหารเยอรมันจึงได้นำผ้าห่มมาแจก โดยแจกให้เพียงกรงละ 2 ผืน
แต่ละผืนก็แสนจะสกปรกและเหม็นสาบ ลองคิดดูซิคะ
ผ้าห่มผืนหนึ่งต่อคนสิบคนจะใช้ร่วมกันไปได้อย่างไร
ในเวลาเดียวกัน ผู้ที่อยู่ในกรงขังทุกคนไม่สามารถนอนพร้อมกันได้
เพราะไม่มีที่ว่างจะนอน หลายคนจึงต้องนั่งจับกลุ่มคุยกันโดยไม่ได้นอนตลอดคืน
บ้างก็ผุดลุกผุดนั่ง จะเอี้ยวตัวไปมาก็แสนจะลำบากยากเย็น
กว่าจะเปลี่ยนอิริยาบถแต่ละทีก็ต้องขอความร่วมมือหรือได้รับความยินยอมจากคนอื่นๆเสียก่อน
ที่ร้ายกว่านั้นก็คือ หลังคาคุกกำลังอยู่ในระหว่างการซ่อมแซม
เมื่อถึงตอนฝนตกน้ำก็ไหลลงมาตามรูรั่ว นักโทษที่อยู่ชั้นบนถูกฝนเปียกปอนไปตามๆกัน
ส่วนผืที่อยู่ชั้นติดพื้นก็ใช่ว่าจะอยู่ในสภาพที่ดีว่า
เพราะเพราะพื้นลาดซีเมนต์ไว้เฉพาะบริเวณเตาหุงต้มอาหารเท่านั้น
นอกนั้นเป็นดินลูกรังที่สกปรกและชื้นและ ฝนตกคราใดมันก็แปรสภาพกลายเป็นทะเลโคลนไปโดยปริยาย
ยิ่งไปกว่านั้น พวกที่อยู่ชั้นล่างก็แสนจะอึดอัดแทบไม่มีอากาศหายใจ
เนื่องจากหน้าต่างช่องระบายอากาศอยู่สูง
ภายในคุกสกปรกโสโครกเกินที่จะพรรณนา
หน้าที่หลักของเราก็คือคอยรักษาความสะอาดอยู่เสมอ
การละเมิดสุขบัญญัติใดๆจะถูกลงโทษอย่างรุนแรง
ก็ในเมื่อคุกมีขนาดเล็กและมีผู้หญิงอยู่ถึง 14,000-1,500 คนเช่นนี้
จะให้รักษาความสะอาดได้อย่างไร? ยิ่งไปกว่านั้นก็ไม่มีอุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น
ไม้กวาด เครื่องถูพื้น ถังใส่น้ำ หรือแม้แต่ผ้าขี้ริ้ว
ซึ่งก็ได้พยายามแก้ปัญหานี้กันจนได้
โยได้ตกลงกันให้แต่ละคนซึ่งมีกระโปรงยาวๆช่วยกันตัดชายกระโปรงมาทำเป็นผ้าถูพื้นแก้ขัดไปพลางๆ
นอกจากนั้นชายกระโปรงนี้ก็ยังใช้ห่อเศษขยะมูลฝอย ตลอดจนสิ่งปฏิกูลบนพื้น
ซึ่งเป็นต้นเหตุให้อากาศเสียที่เราต้องหายใจเข้าไป
ปัญหาที่แก้ได้ยากลำบากยิ่งกว่านั้นก็คือ ภาชนะสำหรับใส่อาหาร
ในวันที่สองที่มาถึงได้รับแจกชามประมาณ 20 ใบ ชายี่สิบใดต่อคน 1,500 คน
นับว่าเป็นเรื่องตลกมาก แต่ละใบก็มีขนาดเล็กบรรจุอาหารไม่พอรับประทานเลย
นอกจากนั้นพวกเยอรมันให้ถังมา 1 ใบ กับหม้อต้มน้ำเล็กๆอีก 1 ใบ
ในระยะหลังจึงได้รับแจกชามเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ก้ยังไม่เพียงพอกับจำนวนคนอยู่ดี
นักโทษที่ได้รับคัดเคือกให้เป็นหัวหน้าคุกหรือที่เรียกเป็นภาษาเยอรมันว่า”โบลโควา”
ก็ทำแสบเสียอีก
โยจะแอบนำหม้อต้มน้ำใบนั้นไปทำเป็นกระโถนรองรับปัสสาวะโยไม่ละอายแก่ใจ
แล้วพวกที่เหลือจะทำอย่างไรกัน?
หากสังเกตดูให้ลึกซึ้งแล้วก็จะเห็นว่า
พวกเยอรมันพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะทำให้เราเกิดความขัดแย้งกัน ชิงดีชิงเด่นกัน
โกรธเคืองกัน จงเกลียดจงชังกันมากขึ้นๆ
ในตอนเช้าเราต้องรีบกุรีกุจอพากันล้างชามให้สะอาดก่อนที่จะนำไปรับแจกอาหาร
ซึ่งอาหารที่ว่านี้ก็มีแต่หัวผักกาดหวานและเนยเทียมเท่านั้น
วันแรกๆเรารับประทานอาหารอย่างผะอืดผะอมแทบจะอาเจียนออกมา
เพราะอดคิดไม่ได้ว่าชามที่ใส่อาหารเหล่านี้ล้วนเคยถูกใช้เป็นกระโถนรองรับปัสสาวะของใครต่อใครมาก่อนในตอนกลางคืน
แต่เมื่อเกิดความหิวโหยมากขึ้นและยังไม่อยากจะอดตาย ก็ต้องทนฝืนใจรับประทานเข้าไป
โดยไม่คำนึงถึงว่าชามที่ใส่อาหารนั้นเคยถูกใช้เป็นกระโถนใส่ปัสสาวะมาก่อนหรือไม่
ในตอนกลางคืนหลายคนต่างแย่งหาชามมาเก็บซ่อนไว้อย่างมิดชิดเพื่อเอาไว้ใช้เป็นกระโถนใส่ปัสสาวะประจำตัว
ก็มันจำเป็นนี่คะ เนื่องจากเราได้รับอนุญาตให้ไปห้องน้ำได้เพียงวันละ 2
ครั้งเท่านั้น ใครปวดแสนปวดอย่างไรก็ต้องทนอดกลั้นเอาไว้
หากใครออกไปนอกคุกในเวลาวิกาลก็ต้องเสี่ยงกับการถูกทหารเอสเอสจับ
ซึ่งพวกนี้ได้รับคั่งให้ยิงก่อนค่อยถามเรื่องราวกันทีหลัง
แล้วใครล่ะจะกล้าเสี่ยงเอาชีวิตไปแลก.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น